วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553
บิเชียหรือไบเคอร์
บิเชียเป็นปลาที่มีลักษณะโบราณ และมีเอกลักษณ์อย่าชัดเจน ทำให้เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาทางโครงสร้างและวิวัฒนาการของมัน ด้วยบิเชียมีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างไปจากปลากระดูกอ่อน และ พวกปลากระดูกแข็ง คือในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีการค้นพบกระดูกออกเป็นจำนวนมาก และภายในลำไส้มี spiral valve และ spiracles 1 คู่ ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง ซึ่งนับว่าค่อนข้างน่าทึ่งกับการพัฒนาในส่วนต่างๆของเจ้าบิเชีย อีกทั้งมันยังมีความพิเศษอีกอย่างคือสามารถปรับตัวให้มีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้อีกด้วย บิเชียเป็นปลาเหมือนกับเป็นรอยต่อระหว่างปลาโบราณกับปลายุคปัจจุบันเลย
การเลี้ยงดูโดยปกติแล้ว บิเชีย เหมาะจะเป็นแทงค์เมทปลาอื่นๆได้เป็นอย่างดีเพราะมันเป็นปลาที่ไม่มีนิสัยก้าวร้าวแต่อย่าใด และด้วยเกล็ดที่มีความหนาและเหนียวทำให้มันสามารถทนการงับของปลาใหญ่เช่นอะโรวาน่าได้ การเลี้ยงเจ้าบิเชียนั้นควรทำที่หลบซ่อนให้มันด้วย และระดับน้ำควรลึกอย่างน้อย 1 ฟุต และควรมีฝาปิดตู้ด้วยครับ เพราะเจ้าบิเชียสามารถโดดได้เช่นเดียวกับปลาอื่นๆ อาหารการกินนั้น บิเชียสามารถกินได้ทั้งอาหารเม็ด และ ปลาเหยื่อ หรือ อาหารเม็ดจม
บิเชีย นั้น มีการกระจายพันธุ์อยู่แต่ในแหล่งน้ำจืดในแอฟริกา ปลากลุ่มบิเชียนั้นบางชนิดมีความยาวได้เต็มที่ประมาณ 1.2 เมตร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดประมาณ 30 ซม. 9 ใน 10 ชนิดของปลาบิเชีย จะพบแค่ใน แหล่งเก็บน้ำ Zaire
วิดิโอลิงค์บิเชีย
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
ลูโซ่โซ่
ปลาลูโซ่โซ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Distichodus lusosso (ดิสทิโชดัส ลูโซโซ) มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Longsnout distichodus หรือ Long Nosed Distichodus หรือ LONG-NOSED CLOWN TETRA ซึ่งก็แปลง่ายๆว่า ปลาดิสทิโอดัสจมูกยาว หรือคราวน์เตทตร้าจมูกยาว นั่นเอง ซึ่งปลาในสกุล ดิสทิโอดัสนี้ มีสมาชิกในตอนนี้ถึง 22 ชนิดเลยทีเดียวครับ ส่วนชื่อภาษาไทย เราเรียกทับศัพตามชื่อชนิดไปเลยว่า ปลาลูโซโซ่ นี่แหละครับ จำง่ายดีด้วย เรามาดูกันต่อนะครับ ว่าปลาตัวนี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มใดบ้าง ในลำดับอนุกรมวิธาน อย่างละเอียด
การแพร่กระจาย และแหล่งทีอยู่อาศัย
ปลาชนิดนี้บางคนอาจเข้าใจผิดว่า มาจากอเมซอน แต่จริงๆแล้ว ปลาลูโซโซ่ มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอาฟริกาครับ...จากประเทศในแถบลุ่มน้ำคองโก ระบบนิเวศน์ป่าฝนขนาดใหญ่ยักษ์อันดับสองของโลก
ปลาลูโซโซ่ เป็นปลาแม่น้ำ จัดเป็นปลาที่อาศัยอยุ่กลางน้ำไปจนถึงพื้นท้องน้ำ จะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเดียวกัน หรือ รวมฝูงกับปลาคาราซินชนิดอื่นๆได้บ้าง ชอบน้ำไหลเอื่อยๆ ตอนเล็กๆจะอาศัยอยู่ตามพืชน้ำ ต่างๆ และจะชอบน้ำไหลแรงขึ้นเมื่อปลามีขนาดใหญ่ พร้อมออกสู่แม่น้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็ว มีความแข็งแรงว่องไว และ กระโดดเก่งมากครับ แหล่งน้ำที่อาศัยโดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 22 – 26 องศาเซลเซียส pH ก็อยู่ที่ประมาณ 6.5-7.0
ขนาด รูปร่างลักษณะ นิสัยและอาหาร
ปลาลูโซโซ่ มีรูปร่างเพรียวสมส่วน มีความแข็งแรง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 45-50 เซนติเมตร ลำตัวมีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลทอง ครีบต่างๆมีสีแดง โดยเฉพาะหางจะสีแดงจัดกว่าครีบอื่น มีแถบบนลำตัว 7 แถบ มีสีดำลากบางๆ จากบนสู่ด้านล่างของข้างลำตัว ส่วนหัวและจงอยปาก มีลักษณะ เรียวยาว แหลมยื่นออกมาด้านหน้าชัดเจน ช่องเปิดของปากมีขนาดเล็กๆ
นิสัยของปลาชนิดนี้ รักสงบ แต่ก็มีความดุร้ายลึกๆ ซ่อนอยู่บ้างภายใน ชอบอยู่รวมฝูงกันได้เป็นอย่างดี ว่ายน้ำตามกันอย่างรวดเร็ว ตื่นตกใจง่ายเมื่อยังเล็ก ชอบกระโดด เมื่ออันตรายจวนตัว หรือหลบซ่อนตามกอไม้ ขอนไม้จมน้ำต่างๆ
วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
กระทิงไฟ
ปลากระทิงไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mastacembelus erythrotaenia
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
อุณหภูมิ : 25 – 30’C
ปลากระทิงไฟนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับงูและปลาไหล ลำตัวจะเป็นสีดำ มีแถบลายแดง ขีดยาว - เป็นจุดๆซึ่งแต่ละตัวจะมีลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองและอาจจะมี 1 ชั้น 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น ขนาดของกระทิงไฟนั้นอาจจะยาวได้ถึง 60-70 ซม.และเคยพบว่ายาวได้ถึง 1 เมตร เลยทีเดียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)