วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปลาตะเพียนหางธง อินซิกนิส




อินซิกนิสเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาตะเพียนมากมาก แต่มันอยู่ในวงษ์คาราซิน (แตกต่างจากตะเพียนซึ่งอยู่ในวงษ์ไซปรินิส) ซึ่งเป็นวงษ์ที่ข้อนข้างใหญ่เพราะมีขนาดเล็กเช่นปลาเตทตร้าทั่วไป ถึงขนาดใหญ่เช่นโกไลแอต อินซิกนิสนี้มีลักษณะปากที่ใหญ่และขยับตลอดเวลา เพราะฉะนั้นปลาตัวนี้จึงเป็นเมทชนิดที่สามารถทำให้ตู้สะอาดขึ้นมากทีเดียว สีครีบ และหางของปลาชนิดนี้ก็ขึ้นชื่อว่าสวยงามมากมากเช่นกัน สีของครีบมีสีแดงสดในปลาขนาดใหญ่ ส่วนหางก็จะมีลายพาดดำแดง เช่นกัน แต่ปลาบางตัว หางด้านในจะมีสีเหลืองอยู่ด้วยเล็กน้อย





ถิ่นกำเนิด
South America: central and western portions of the Amazon basin and tributary rivers
ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลว่าสามารถเพาะพันธุ์ได้หรือยัง แต่คาดว่าในต่างประเทศสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว


วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปอมปาดัวร์ ( Pompadour ) หรือ Discus




เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงกลม ลำตัวแบนมีความกว้างของลำตัวมากจนมีลักษณะคล้ายจาน ตามครีบหลังและครีบท้องเรียนเป็นแนวยาวตลอดจนถึงครีบหาง โดยบริเวณด้านหน้าของครีบหลัง และครีบทวารที่ต่อกันกับครีบอ่อนด้านท้ายจะมีลักษณะแข็งเป็นหนามแหลมคล้ายเงี่ยง ลวดลายและสีสันลำตัวมีอยู่ด้วยกันหลายสี ขนาดโต
เต็มที่ประมาณ 6-8 นิ้ว เป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวเนิบนาบดูอ่อนช้อยสวยงาม





มีถิ่นกำเนิดเดิมที่ลุ่มแม่น้ำอเมซอน อันเป็นแม่น้ำที่อยุ่ใน
ทวีปอเมริกาใต้ ( ซึ่งแป็นแม่น้ำสายเดียวกับเจ้าปิรันย่าแต่มันไม่ได้อยู่บริเวณเดียวกันหรอกครับ ^_^ ) ซึ่งมีลำน้ำสาขาต่างๆไหลผ่านครอบคลุมหลายประเทศด้วยกัน เช่น บราซิล เวเนซุเอลา โคลัมเบียและเปรู ซึ่งปัจจุบันบริเวณลุ่มแม่น้ำนี้ยังคงความเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างไปจากเดิม สำหรับปลาที่มีถิ่นอาศัย อยู่ในลุ่มน้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อยๆ และมีระดับความลึกของน้ำไม่มากนักมักหลบอาศัยตามรากไม้น้ำหรือใต้พุ่มไม้น้ำที่มีลักษณะรก





ตามนิสัยของ ปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างรักสงบ ไม่เหมาะที่จะปล่อยรวมกันกับปลาอื่น หรือปล่อยเลี้ยงรวมกันในตู้ที่แน่นจนเกินไป ปกติแล้วจะไม่ค่อยก้าวร้าว ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันที่ส่วนใหญ่แล้วจะมีนิสัยค่อนข้างดุ ร้าย ก้าวร้าว เว้นเสียแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่เท่านั้นในช่วงใกล้ผสมพันธ์จะจับคู่ เริ่มหวงงอาณาเขต และค่อนข้างดุในช่วงนี้ หากว่า ปลาตัวให้แหยมเข้ามาจะสู้กลับทันที


วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

• ปักเป้า MBU Giant Freshwater Puffer




ชื่อสามัญ : Giant Puffer Fish, Giant Freshwater Puffer
ลักษณะเด่น : เป็นปักเป้าน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีลวดลายตาข่ายสีดำบนหลังสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปลาโตขึ้น ส่วนท้องมีสีเหลืองเข้ม (ถ้าสังเกตเห็นแต้มสีดำบริเวณท้องแสดงว่าปลาเริ่มเครียด) ดวงตาสีส้มแดง มีผิวหนังเหนียว มีหนามขนาดเล็ก สามารถกลืนอากาศเข้าสู่ท้องเพื่อพองตัว เวลาตกใจได้ครับ โดยเฉพาะเวลาจับขึ้นเหนือน้ำ สามารถปรับสีพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ หรือเปลี่ยนสีตามอารมณ์ได้ครับ






เพื่อนร่วมตู้ : ปลาปักเป้าทุกชนิด เป็นปลาที่ดุร้ายครับ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ และมีฟันที่คม และขากรรไกรที่แข็งแรง ขนาดกัดเปลือกหอยแตก ดังนั้น ถ้าเกิดไปกัดปลาอะไรเข้าล่ะก็ บาดเจ็บแน่นอนครับ ข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิเสธก็คือ ไม่ควรเลี้ยงปักเป้าไว้ด้วยกันเอง ไม่ว่าจะกี่ตัวก็ตามครับ กัดกันตายแน่นอน แต่ปักเป้าเอ็มบู ก็มีหลายอารมณ์เหมือนกัน ถือว่าเป็นชนิดที่ใจดีมากที่สุดชนิดหนึ่งแล้ว





ในบรรดาปลาปักเป้าด้วยกัน บางคนก็เลี้ยงรวมกับปลาเล็กๆชนิดอื่นๆได้ หรือรวมกับปลาขนาดใหญ่ที่ว่ายน้ำตลอด เช่น อโรวาน่า เป็นต้น ปลาปักเป้าเอ็มบูขนาดเล็กไม่ดุร้าย และจะไม่ค่อยสนใจปลาอื่นในตู้เท่าไรนัก และมีความเป็นไปได้สูงว่า ถ้าเลี้ยงรวมกับปลาอื่นตั้งมันแต่เล็กจะช่วยให้ปลาเคยชินกับเพื่อนร่วมตู้มากกว่า เอามารวมตอนมันโตแล้ว

• ปลาปอด Lepidosiren paradoxa




ปลาปอดเมริกาใต้ หรือ ปลาปอดพาราด๊อกซ่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณเมตรครึ่ง หัวมีลักษณะกลมกว่าปลาปอดแอฟริกา ลำตัวมีสีดำคล้ำ มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาปอดแอฟริกา และมีนิสัยที่สุภาพกว่า มีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลกไปกว่าปลาปอดจำพวกอื่น ๆ คือ สามารถกินพืชจำพวกเห็ดราได้ด้วย





เมื่อปลาปอดยังเป็นลูกปลานั้น ปลาปอดพาราด็อกซ่า จะมีจุดสีทอง บนพื้นสีดำ, แต่เมื่อโตขึ้นสีพื้นเหล่านั้นจะจางลงไปเป็นสีน้ำตาล หรือเทา. ชุดฟันบนขากรรไกรบน (premaxillary และ maxillary) มีความเป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับปลาปอดชนิดอื่นๆ. ปลาปอดอเมริกาใต้มี ขากรรไกรบนที่เชื่อมต่อโดยตรงกับกระโหลก ทำให้กล้ามเนื้อยึดขากรรไกรมีกำลังมาก ซึ่งพบได้ในปลาปอดทั้งหมด, ลำตัวมีลักษณะยาวและเพรียว ซึ่งดูคล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างแอมฟิอุม่า, ครีบหางเป็นแบบ ไดฟิเซอคอล (diphycercal). ปลาปอดชนิดนี้สามารถโตได้ถึง 1.25 เมตร (4.1 ฟุต). ครีบอกจะมีลักษณะผอมเรียวคล้ายเส้นด้าย, ในขณะที่ครีบเชิงกรานจะค่อนข้างใหญ่กว่า และอยู่ห่างกันมาก. เหงือกจะหดสั้นลงไปเรื่อยๆ และจะหายไปเมื่อโตขึ้น





ปลาปอดพาราด๊อกซ่าสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำเพียงแค่บางช่วงของปีได้, เช่น หนองน้ำตื้นๆ, แหล่งน้ำนิ่งของแม่น้ำสาขา และคลองเล็กๆ. พื้นที่เหล่านี้จะแห้งในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลน พวกมันจะฝังตัวลงไปในโคลนลึกประมาณ 30-50 ซม., สร้างเป็นโพรงบริเวณปลายหลุมนั้น เหลือเพียงช่องเล็กๆที่ทำหน้าที่รับอากาศจากภายนอกเท่านั้น ภายในนั้นปลาปอดจะขดตัวหางไปจรดถึงหัว, หลังจากนั้นจะขับเมือกออกมาเพื่อสร้างเป็นดักแด้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นเอาไ้ว. อากาศจะเข้ามาทางช่องที่ขุดไว้ผ่านทางหลุมเล็กๆบริเวณด้านบนของโคลนที่แห้ง. ปลาปอดจะเข้าสู่สภาวะการจำศีล พวกมันจะหยุดการเจริญเติบโต รวมทั้งหยุดกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดลงชั่วคราว เท่าที่ทราบพวกมันสามารถมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ได้นานถึง 4 ปี.ในช่วงระหว่างการจำศีล ปลาปอดจะทำการลดการเผาผลาญพลังงานลง และใช้สารอาหารจากส่วนไขมันบริเวณหาง จนกว่าสภาพแวดล้อมจะเหมาะสม พวกมันถึงจะออกมาอีกครั้ง


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

• Cetopsis coecutiens บลูชาร์ค



ปลาชนิดนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cetopsis coecutiens อ่านว่า ซีทอปสิส โคคคูเทียนส์ ถูกบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานครั้งแรกโดย Lichtenstein, 1819 ชื่อสกุล มาจากภาษากรีก cetos ซึ่งแปลว่า วาฬ และคำว่า cosis ซึ่งแปลว่า คล้าย รวมกันเป็นคำแปลว่า คล้ายวาฬ นั่นเอง มีชื่อพ้อง(Synonyms) คือ Silurus coecutiens, Silurus caecutiens ส่วนชื่อสามัญ ก็มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อครับ เช่น Baby Whale Catfish, Blue Shark Catfish, Blue Torpedo Catfish, Blue Whale Catfish, Whale Catfish และ Canero ส่วนนักเลี้ยงปลาแปลกชาวไทย นิยมเรียกมันว่า บลูชาร์ค ทับศัพท์ไปเลยครับ ไม่ต้องไปแปลว่า ฉลามสีน้ำเงิน บางคนอาจเรียก คาเนโร่ ก็มีบ้างเช่นกัน ปลาในสกุลนี้ มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 26 สปีชีส์ครับ แต่สปีชีส์ หรือชนิดที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทยบ่อยที่สุด ก็คือ C. coecutiens นั่นเองครับ





การแพร่กระจายและแหล่งที่อยุ่อาศัย
ปลาชนิดนี้มาจากทวีปอเมริกาใต้ พบที่ แม่น้ำหลายสาย ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น อเมซอน โทแคนติน และ โอริโนโค่ เป็นต้น ปลาบลูชาร์ค อาศัยหากินอยู่ในน้ำหลายระดับความลึก ตั้งแต่บริเวณพื้นท้องน้ำ จนมาถึงกลางน้ำครับ อุณหภูมิของน้ำในธรรมชาติ อยู่ที่ประมาณ 22-28 องศาเซลเซียส pH 6.0-7.4 มันสามารถอยู่ได้ทั้งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ตามแต่ที่พวกมันจะว่ายน้ำไปหาเหยื่อได้ แต่ปกติจะพบทั่วไปในแหล่งน้ำไหลขนาดใหญ่ครับ



ลักษณะรูปร่าง นิสัย และอาหาร
ปลาบลูชาร์ค มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม หรือ วาฬ สมชื่อนี่แหละครับ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ จะงอยปากบนยื่นยาวกว่าจะงอยปากล่าง ดวงตามีขนาดเล็กมาก ลำตัวเพรียวยาว ครีบหลังเป็นรูป สามเหลี่ยมปลายแหลมคล้ายฉลาม มองดูหน้าตาแล้วน่ารักครับ เหมือนปลาตัวนี้ กำลังยิ้มให้เราตลอดเวลา ลำตัวเพียวยาว รูปตอร์ปิโด ไม่พบครีบไขมัน ไม่มีเกล็ด สีของลำตัว ด้านบนเป็นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนด้านท้องเป็นสีขาว มีสีเหลือบฟ้าทั่วทั้งลำตัว ขนาดโตเต็มที่ทั่วไป ประมาณ 26 เซนติเมตร แต่ก็สามารถพบขนาดเกิน 1 ฟุตได้บ่อยๆใน
ธรรมชาติครับ

• Malapterurus microstoma ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์



ปลาดุกไฟฟ้ายักษ์ จัดอยู่ในกลุ่มแคทฟิชนั่นเอง องค์ประกอบหลักๆหรือเบสิกของการเลี้ยงปลากลุ่มแคทฟิชทั้งหลาย มันจัดอยู่ในครอบครัว Malapteruridae ซึ่งปลาในครอบครัวนี้ จะมีรูปร่างกลมๆยาวๆ คล้ายไส้กรอก ไม่มีครีบหลัง แต่จะมีครีบไขมันขนาดใหญ่ อยู่ค่อนไปทางท้ายลำตัว ติดๆกับครีบหาง มีช่องเปิดเหงือกเล็กๆอยู่ติดๆกับครีบอก มีสมาชิกอยู่เพียงสกุลเดียวคือ Malapterurus ครับ และมีสมาชิกในสกุล ร่วมๆ 25 สปีชีส์ ซึ่งแล้วแล้วแต่เป็นปลาดุกไฟฟ้ากันทุกชนิดครับ ปลาในครอบครัวนี้



พบแต่ในอาฟริกาไม่พบในประเทศไทย ใครนำมาเลี้ยงแล้วเบื่อ ห้ามปล่อยลงสู่แหล่งน้ำไทยโดยเด็ดขาดเพื่อป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ที่อาจประเมินค่ามิได้





ปลาดุกไฟฟ้านั้น เป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง หรือไหลเอื่อยๆครับ ชอบอาศัยอยู่พื้นท้องน้ำ หรือบางทีก็กลางน้ำ โดยจะหลบอาศัยตามโพรงหิน โพรงไม้ และตามรากไม้จมน้ำต่างๆ สภาพน้ำเป็นน้ำขุ่น แสงส่องผ่านได้น้อย หรือเป็นน้ำหมัก (Black water) ที่มีการสะสมของสารอินทรีย์เช่นใบไม้เป็นจำนวนมากครับ อุณหภูมิประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส เท่าๆบ้านเรานี่เอง





มีอวัยวะสร้างไฟฟ้าเรียงตัวอยู่ด้านข้างของลำตัว สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าที่รุนแรง ถึง 350 โวล์ตโดยกระแสไฟฟ้าดังกล่าวนั้น ใช้ป้องกันตัว และ ฆ่าเหยื่อที่จะจับกิน ส่วนลำตัวมีสีเทา มีจุดประสีดำขนาดใหญ่และเล็กกระจายอยู่ทั่วลำตัว นิสัยของปลาชนิดนี้ค่อนข้างดุ ไม่ควรเลี้ยงรวมกันกับปลาอื่น เพราะนอกจากเป็นปลาที่ดุ กัด และกินปลาอื่นเป็นอาหารแล้ว ยังสามารถใช้กระแสไฟฟ้าที่รุนแรงช๊อตจนปลาอื่นตาย หรือพิกลพิการไปตลอดชีวิตได้อีกด้วย นอกจากนั้นถ้าเลี้ยงรวมกันในชนิดเดียวกัน ก็ยังกัดกันเองอีกด้วย

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

• Atractosteus spatula อัลลิเกเตอร์ การ์



Alligator Gar (Atractosteus spatula) ปลาอัลลิเกเตอร์ การ์

เป็นปลาที่มักจะตกเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง
เนื่องจากขนาดที่ใหญ่โต
โตเร็ว กินจุ
จึงทำให้มีการนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง



ปลาอัลลิเกเตอร์
มีการกระจายพันธุ์อยู่ในแถบอเมริกาเหนือ
ตั้งแต่ฟลอริด้า เท็กซัส จนถึงเม็กซิโก
โดยปลาชนิดนี้ชอบอาศัยในแหล่งน้ำที่กระแสน้ำ
ไหลไม่แรงนัก เช่นแม่น้ำ ทะเลสาป และหนอง บึงต่างๆ



ปลาชนิดนี้มีลำตัวกลม ยาว
ครีบหางมีลักษณะกลม ที่ครีบมีลายจุด
ผิวลำตัวมีสีแบบเขียวมะกอกจนถึงน้ำตาล
มีเกล็ดแบบ ganoid