วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
• ปลาปอด Lepidosiren paradoxa
ปลาปอดเมริกาใต้ หรือ ปลาปอดพาราด๊อกซ่า ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณเมตรครึ่ง หัวมีลักษณะกลมกว่าปลาปอดแอฟริกา ลำตัวมีสีดำคล้ำ มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาปอดแอฟริกา และมีนิสัยที่สุภาพกว่า มีพฤติกรรมการกินอาหารที่แปลกไปกว่าปลาปอดจำพวกอื่น ๆ คือ สามารถกินพืชจำพวกเห็ดราได้ด้วย
เมื่อปลาปอดยังเป็นลูกปลานั้น ปลาปอดพาราด็อกซ่า จะมีจุดสีทอง บนพื้นสีดำ, แต่เมื่อโตขึ้นสีพื้นเหล่านั้นจะจางลงไปเป็นสีน้ำตาล หรือเทา. ชุดฟันบนขากรรไกรบน (premaxillary และ maxillary) มีความเป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับปลาปอดชนิดอื่นๆ. ปลาปอดอเมริกาใต้มี ขากรรไกรบนที่เชื่อมต่อโดยตรงกับกระโหลก ทำให้กล้ามเนื้อยึดขากรรไกรมีกำลังมาก ซึ่งพบได้ในปลาปอดทั้งหมด, ลำตัวมีลักษณะยาวและเพรียว ซึ่งดูคล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างแอมฟิอุม่า, ครีบหางเป็นแบบ ไดฟิเซอคอล (diphycercal). ปลาปอดชนิดนี้สามารถโตได้ถึง 1.25 เมตร (4.1 ฟุต). ครีบอกจะมีลักษณะผอมเรียวคล้ายเส้นด้าย, ในขณะที่ครีบเชิงกรานจะค่อนข้างใหญ่กว่า และอยู่ห่างกันมาก. เหงือกจะหดสั้นลงไปเรื่อยๆ และจะหายไปเมื่อโตขึ้น
ปลาปอดพาราด๊อกซ่าสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำเพียงแค่บางช่วงของปีได้, เช่น หนองน้ำตื้นๆ, แหล่งน้ำนิ่งของแม่น้ำสาขา และคลองเล็กๆ. พื้นที่เหล่านี้จะแห้งในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลน พวกมันจะฝังตัวลงไปในโคลนลึกประมาณ 30-50 ซม., สร้างเป็นโพรงบริเวณปลายหลุมนั้น เหลือเพียงช่องเล็กๆที่ทำหน้าที่รับอากาศจากภายนอกเท่านั้น ภายในนั้นปลาปอดจะขดตัวหางไปจรดถึงหัว, หลังจากนั้นจะขับเมือกออกมาเพื่อสร้างเป็นดักแด้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นเอาไ้ว. อากาศจะเข้ามาทางช่องที่ขุดไว้ผ่านทางหลุมเล็กๆบริเวณด้านบนของโคลนที่แห้ง. ปลาปอดจะเข้าสู่สภาวะการจำศีล พวกมันจะหยุดการเจริญเติบโต รวมทั้งหยุดกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดลงชั่วคราว เท่าที่ทราบพวกมันสามารถมีชีวิตอยู่ในช่วงนี้ได้นานถึง 4 ปี.ในช่วงระหว่างการจำศีล ปลาปอดจะทำการลดการเผาผลาญพลังงานลง และใช้สารอาหารจากส่วนไขมันบริเวณหาง จนกว่าสภาพแวดล้อมจะเหมาะสม พวกมันถึงจะออกมาอีกครั้ง